เมนู

อยู่ตามภูเขาและป่าทึบเป็นต้น แล้วบุกเข้าที่หมู่บ้านแถวชายแดน ทำหมู่บ้าน
ให้เสียหายแล้ว ตีทั้งนิคม ทั้งชนบทตามลำดับ.
ผู้คนปรารถนาสถานที่ ๆ ปลอดภัย จึงพากันทิ้งบ้านเรือนหลีกหนีไป.
ทั้งภิกษุ ภิกษุณี ที่อาศัยคนเหล่านั้นอยู่ ก็พากันละทิ้งสถานที่อยู่ของตน ๆ
หลีกไป. ในสถานที่ที่ท่านเหล่านั้นไปแล้ว ทั้งภิกษา ทั้งเสนาสนะก็หาได้ยาก.
ภัยย่อมมาถึงบริษัททั้ง 4 อย่างนี้แล.
แม้ในบรรพชิตทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นพาล 2 รูป วิวาทกันแล้วต่างเริ่ม
โจทกันและกัน จึงเกิดความวุ่นวายใหญ่หลวงขึ้น เหมือนพวกภิกษุชาวเมือง
โกสัมพี ฉะนั้น. ภัยย่อมมาถึงบริษัท 4 เหมือนกัน ก็ภัยเหล่าใดเกิดขึ้น
ดังว่ามานี้ ภัยเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นมาจากคนพาล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยังเทศนาให้จบลงตามอนุสนธิ ดังว่ามานี้แล.
จบอรรถกถาภยสูตรที่ 1

2. ลักขณสูตร



ว่าด้วยลักษณะของพาลและบัณฑิต



[441] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีกรรมเป็นลักษณะ บัณฑิตก็มี
กรรมเป็นลักษณะ ปัญญาปรากฏในอปทาน (ความประพฤติ)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ พึงทราบได้
ว่าเป็นคนพาล ธรรม 3 ประการคืออะไรบ้าง คือ กายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล พึงทราบเถิดว่า เป็นพาล

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ พึงทราบได้ว่า
เป็นบัณฑิต ธรรม 3 ประการคืออะไรบ้าง คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโน-
สุจริต ผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล พึงทราบเถิดว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้อย่างนี้ว่า บุคคล
ประกอบด้วยธรรม 3 ประการเหล่าใด พึงทราบได้ว่าเป็นคนพาล เราทั้งหลาย
จักละเสียซึ่งธรรม 3 ประการนั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการเหล่า
ใดพึงทราบได้ว่าเป็นบัณฑิต เราทั้งหลายจักถือธรรม 3 ประการนั้นประพฤติ
ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบลักขณสูตรที่ 2

อรรถกถาลักขณสูตร



พึงทราบวินิจฉัย ในลักขณสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้:-
กรรมที่เป็นไปทางกายทวารเป็นต้น เป็นลักษณะ คือเป็นเหตุให้
หมายรู้บุคคลนั้น เหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า มีกรรมเป็นลักษณะ.
ปัญญาที่งามด้วยความประพฤติ (จริต) ชื่อว่า อปทานโสภนีปัญญา.
อธิบายว่า พาลและบัณฑิตย่อมปรากฏด้วยกรรมที่ตนประพฤติมาแล้วนั่นแล.
จริงอยู่ ทางที่คนพาลไปแล้ว ย่อมเป็นเหมือนทางไปของไฟป่าซึ่งลาม
ไปเผาไหม้ต้นไม้ กอไม้ คามนิคมเป็นต้นฉะนั้น. ปรากฏเหลือก็แต่เพียงสถานที่
ที่ปลูกบ้านเท่านั้น ซึ่งเต็มไปด้วย ถ่าน เขม่า และเถ้า. ส่วน ทางที่บัณฑิต
ไป เหมือนทางที่เมฆฝน ซึ่งตั้งเค้าขึ้นทั้ง 4 ทิศ แล้วตกลงมา เต็มหลุมและ
บ่อเป็นต้น นำความงอกงามของรวงข้าวกล้าชนิดต่าง ๆ มาให้ฉะนั้น. สถาน